สังคมสูงวัย ปี2564
มุมผู้สูงวัย

สุขภาพคนไทย กับสังคมสูงวัยในปี 2564

นับจากนี้อีก 3 ปี ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบที่มีกลุ่มคนไทยวัยเกษียณขึ้นไป จำนวนเกือบ 20 ล้านคน หรือราว ๆ 25 % ของประชากรทั้งหมด นับว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง ซึ่งทำให้เกิดคำถามว่า ตอนนี้เราพร้อมที่จะดูแลสุขภาพของคนใกล้ชิดที่เข้าข่ายสูงวัยรวมถึงสุขภาพของตนเองเพื่อเป็น “คนแก่” ที่มีคุณภาพแล้วหรือยัง ? ทั้งนี้ คำว่า “สุขภาพ” ในผู้สูงวัย นอกจากหมายถึง สุขภาพทางกาย สุขภาพใจ (สุขภาพจิต) แล้ว ยังรวมถึงสุขภาพทางการเงินที่คนส่วนใหญ่อาจหลงลืมไป ซึ่งเรียกได้ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในวันที่ไม่สามารถใช้ “สังขาร” ทำงานได้อย่างสมัยหนุ่มสาวแล้ว

1. สุขภาพทางกาย

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ทำให้เสี่ยงหรือเพิ่มความรุนแรงของโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ตัวผู้สูงวัยเองและผู้ที่ใกล้ชิดดูแล ต้องมีวินัยและ เลือกทานเฉพาะ อาหารดีต่อสุขภาพ “ไม่ตามใจปาก” อย่างที่ผ่านมา เช่น
– เลิกรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ เช่น ขนมปังแครกเกอร์ ครีมโกโก้ คุ้กกี้
– เพิ่มสัดส่วนของผักสีเขียว สีแดงส้ม ตระกูลเบอร์รี่ เพื่อเพิ่มวิตามินเอและสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยบำรุงจอประสาทตา ป้องกันโรคต้อกระจก
– เพิ่มปริมาณพืชผักที่กากใยสูง ในรูปน้ำตาลเชิงซ้อนชนิดดีและมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำ เช่น ธัญพืช , ถั่ว 5 สี (ถั่วดำ ขาว เหลือง เขียว และแดง) , ข้าวโพด ลูกเดือย , แก้วมังกร , เผือกต้ม เพื่อช่วยควบคุมการเผาผลาญและคงระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่แกว่ง ซึ่งดีต่อสุขภาพโดยรวมโดยเฉพาะผู้ที่เป็นเบาหวาน
– เพิ่มการออกกำลังกายตามวัย เพื่อการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อและทำให้หัวใจแข็งแรง เช่น การเดินเร็ว , การยืนแกว่งแขน , การว่ายน้ำ , เล่นโยคะ เป็นต้น

2. สุขภาพใจ

ควรทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทัศนคติและรู้สึกดีต่อตนเอง ว่าชีวิตหลังเกษียณเป็นโอกาสดีที่จะให้เวลากับตัวเองและครอบครัว โดยไม่มีหน้าที่การงานเป็นภาระและทำให้ลดการขัดแย้งกับผู้คนได้ หากมีงานอดิเรกหรือสิ่งใดที่เคยอยากทำก็ควรรื้อฟื้นออกมา “ปัดฝุ่น” เพื่อให้ได้ออกกำลัง “สมอง” ควบคู่ไปกับการพักผ่อนทางอารมณ์ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นผู้สูงวัยที่มีความน่ารัก เป็นที่เคารพและที่พึ่งทางใจของบุตรหลานได้

กิจกรรมคนสูงวัย

3. สุขภาพการเงิน

คนสูงวัยหากขาดความมั่นคงทางการเงิน หรือขาดความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายจากบุคคลในครอบครัว หรือองค์กร มักจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย น้อยใจในชะตาชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย จึงเป็นสิ่งที่คนใกล้ชิดหรือบุตรหลานต้องพูดคุยให้คลายความทุกข์และให้ยอมรับกับความเป็นจริงให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ อย่าปล่อยใจหลวมตัวกับการพนันบอล เชื่อไหมว่าทุกวันนี้คนสูงวัยที่เข้าดูบทวิจารณ์วิเคราะห์บอลเพื่อเล่นพนันกีฬามีเยอะเหมือนกัน อุตส่าห์เก็บมาเงินมาแสนนานกลับต้องหมดตัวช่วงปลายชีวิตเพราะอบายมุขแทน คงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และแทบไม่มีเวลาเหลือให้แก้ตัวเนื่องจากอายุเยอะแล้ว

ดังนั้น สำหรับคนในวัยก่อนเกษียณหรือเพิ่งเริ่มทำงานก็ตาม ควรตระหนักถึงความประหยัด รู้จักคุณค่าของเงิน ฝึกฝนที่จะหักห้ามใจไม่ใช้จ่ายในสิ่งเกินจำเป็น ทั้งยังต้องเพียรศึกษาและฝึกฝนแนวทางการลงทุนต่อยอดจากรายได้ที่มีอยู่ ตลอดจนพัฒนาตนเองเพื่อขยายองค์ความรู้ในการสร้างอาชีพเสริม หรือรายได้แบบ passive income ในระยะยาว การก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย จึงไม่ใช่เพียงการตระหนักถึงการดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว แต่ยังทำให้ผู้ที่ยังไม่ใช่ผู้สูงวัยในวันนี้ (แต่ในอนาคตจะเป็นสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิอย่างแน่นอน!) ต้องเตรียมพร้อมตัวเองด้วยเช่นกัน